วัดชิออนจิ
วัดชิออนจิคือวัดพุทธนิกายเซน ตั้งอยู่บริเวณจุดชมวิวใกล้กับอามาโนะฮาชิดาเตะ ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในสามสถานที่อันมีทัศนียภาพสวยงามที่สุดของญี่ปุ่น ทั้งนี้ อามาโนะฮาชิดาเตะคือสันทรายที่มีความยาว 3.2 กิโลเมตรในทะเลซึ่งปกคลุมไปด้วยป่าสน โดยร่ำลือกันว่ามีลักษณะคล้ายมังกรหรือสะพานที่เชื่อมไปยังแดนสวรรค์ ตั้งแต่สมัยโบราณ วัดแห่งนี้ถือเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง วัดชิออนจิเป็นที่ตั้งของสถาปัตยกรรมและศิลปวัตถุมากมายที่ได้บอกเล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์อันยาวนาน ของวัด และดึงดูดผู้คนจำนวนมากให้เข้ามาสักการะ
ปีในการสร้างวัดแห่งนี้ยังคงไม่ทราบอย่างแน่ชัด แต่เชื่อกันว่าจุดเริ่มต้นของวัดได้ย้อนไปถึงยุคตำนานเทพเจ้า ในตอนที่เทพเจ้าแห่งศาสนาชินโตสร้างประเทศญี่ปุ่น โดยพระจักรพรรดิไดโงะได้เป็นผู้พระราชทานนามว่าเท็นเคียวซันชิออนจิเมื่อปี ค.ศ. 904 พระมัญชุศรีโพธิสัตว์ หรือมอนจูโบซัตสึในภาษาญี่ปุ่น เป็นรูปเคารพประจำวัด ซึ่งถือเป็นหนึ่งในสามรูปเคารพที่มีชื่อเสียงที่สุดของพระโพธิสัตว์องค์นี้ในประเทศญี่ปุ่น โดยมีผู้ศรัทธาจำนวนมากเดินทางมาเพื่อไหว้ขอพรให้ประสบความสำเร็จในการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาและความสำเร็จทางวิชาการด้านอื่นๆ
ในวันที่ 24 กรกฎาคม ของทุกปี ทางวัดจะจัดเทศกาลประจำปี เดบุเนะมัตสึริ (เทศกาลปล่อยเรือ) เพื่อเชิดชูเกียรติแด่พระมัญชุศรี โดยเสียงสวดมนต์ของเหล่าพระสงฆ์จะดังกึกก้องไปทั่วบริเวณที่เต็มไปด้วยการประดับไฟในตอนกลางคืน และในช่วงฤดูใบไม้ผลิ จะมีการจัดเทศกาลดอกไม้เพื่อเฉลิมฉลองวันประสูติของพระพุทธเจ้า โดยจะมีการประดับประดาดอกไม้สวยงามในศาลามอนจูโด และยังมีน้องแมวที่น่ารักเดินเล่นไปมาอย่างอิสระภายในบริเวณวัด คอยดึงดูดผู้มาเที่ยวชมอีกด้วย
มรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญรูปสลักไม้พระโพธิสัตว์มัญชุศรี เคียงข้างด้วยสุธนะกุมารผู้ติดตามและพระเจ้าอุทยานา
รูปเคารพสำคัญที่บูชาในวัดชิออนจิคือพระมัญชุศรี (มอนจูโบซัตสึ ในภาษาญี่ปุ่น) อันเป็นสัญลักษณ์แห่งปัญญา โดยที่ปรากฏในภาพเป็นขณะเดินทางแสวงบุญจากอินเดียไปยังจีน พระมัญชุศรีนั่งอยู่บนสิงโต มีสุธนะกุมารผู้ติดตาม (เซ็นไซ โดจิ ในภาษาญี่ปุ่น) อยู่ทางขวาและพระเจ้าอุทยานาอยู่ทางซ้าย สุธนะกุมารถือกล่องพระสูตรอันเป็นสัญลักษณ์ของพระมัญชุศรี ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งปัญญา ส่วนพระเจ้าอุทยานาเป็นผู้จูงสิงโต
รูปสลักนี้มีอายุย้อนไปถึงยุคคามาคูระ (ค.ศ. 1185–1333) ลวดลายสีสันที่ประณีตงดงาม มวยผมที่มีการมัดไว้สูงบนศีรษะ และรูปทรงอันอ่อนช้อยเป็นลักษณะเฉพาะของรูปแบบศิลปะยุคคามาคูระตอนปลาย
มรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญอ่างอาบน้ำเหล็ก
ถึงแม้ว่าปัจจุบันจะถูกใช้เป็นอ่างน้ำ แต่โดยเดิมนั้นตั้งใจจะใช้เป็นอ่างอาบน้ำ เมื่อแรกเริ่ม อ่างอาบน้ำนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ที่วัดโคโฮจิเมื่อปี ค.ศ. 1290 ในช่วงยุคคามาคูระ (ค.ศ. 1185–1333) และได้ย้ายไปที่วัดชิออนจิในเวลาต่อมา มีการระบุเครื่องหมายของช่าง ว่าสร้างโดยช่างตีเหล็กชื่อซาดาคิโย ยามางาวะ โดยใช้เหล็กแผ่นบางแม้ว่าอ่างอาบน้ำจะมีขนาดใหญ่ก็ตาม ซึ่งสิ่งนี้บ่งบอกถึงทักษะและฝีมือของช่าง
มรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญเจดีย์สองชั้น
เจดีย์สองชั้นซึ่งมีด้านบนเป็นทรงกระบอกอยู่บนชั้นแรกที่เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม มีหลังคารูปทรงเต็นท์อยู่ด้านบนและมียอดเจดีย์เป็นเกลียว เรียกว่าทาโฮโท ทาโฮโทของวัดชิออนจินั้นถือเป็นเจดีย์เพียงองค์เดียวที่ยังคงเหลืออยู่จากยุคมูโรมาจิ (ค.ศ. 1336–1573) ในเขตทังโงะ รูปเคารพของไวโรจะนะ (ไดนิจิ เนียวไร ในภาษาญี่ปุ่น) ซึ่งประดิษฐานอยู่ตรงกลาง ถือเป็นพระพุทธรูปองค์สำคัญในศาสนาพุทธแบบวัชรยาน นิกายชินงอน และถือเป็นสัญลักษณ์ของจักรวาลด้วย หลังคาของเจดีย์สร้างขึ้นโดยใช้เทคนิคโบราณในการนำแผ่นไม้บางๆ มาซ้อนทับกัน และมีชายคาโค้งอันอ่อนช้อยทำให้มีรูปลักษณ์ที่สง่างาม
มรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญฆ้อง
ตามจารึก ฆ้องนี้สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1322 เพื่อใช้ในวัดพุทธในเกาหลี และยังเป็นตัวอย่างที่แสดงถึงการค้าระหว่างเขตทังโงะของญี่ปุ่นและคาบสมุทรเกาหลี ฆ้องดังกล่าวมีการออกแบบที่คล้ายกันกับฆ้องวานิกูจิที่จะพบเห็นได้ตามวัดญี่ปุ่นโดยทั่วไป แม้ว่าจะเห็นได้ถึงความแตกต่างบางอย่าง เช่น การใช้สามห่วงในการแขวน หรือลวดลายกลีบดอกบัวและลวดลายแบบอาหรับโดยรอบ
-
หมายเลข 1 วัดคันนอนจิ
(เมืองฟุคุจิยามะ) -
หมายเลข 2 วัดเทนเนอิจิ
(เมืองฟุคุจิยามะ) -
หมายเลข 3 วัดอังโคะคุจิ
(เมืองอะยะเบะ) -
หมายเลข 4 วัดโคเมียวจิ
(เมืองอะยะเบะ) -
หมายเลข 5 วัดโชเรคิจิ
(เมืองอะยะเบะ) -
หมายเลข 6 วัดมัตสึโนะโอเดระ
(เมืองไมซูรุ) -
หมายเลข 7 วัดคงโกอิน
(เมืองไมซูรุ) -
หมายเลข 8 วัดทาเนจิ
(เมืองไมซูรุ) -
หมายเลข 9 วัดชิออนจิ
(อามาโนะฮาชิดาเตะ) -
หมายเลข 10 วัดเอ็นโจจิ
(เมืองเคียวทังโกะ)