วัดเอ็นโจจิ
บันทึกทางประวัติศาสตร์ของวัดเอ็นโจจิได้ระบุไว้ว่า “ในปี ค.ศ. 717 เมื่อครั้งที่ผู้ก่อตั้งวัด [พระสงฆ์ชาวอินเดียที่รู้จักกันในนาม] เซ็นมุย เดินทางมาถึงญี่ปุ่น ท่านได้พบว่ามีเทพเจ้าผู้มีเมตตา 18 องค์ที่คอยปกป้องผืนแผ่นดินซึ่งมีเมฆสีม่วงลอยอยู่ และแสงของคันนอน [เทพเจ้าแห่งความเมตตาในศาสนาพุทธ] ก็ส่องสว่างเจิดจ้าราวกับพระจันทร์เต็มดวง ท่านเซ็นมุยรู้สึกปลื้มปิติเป็นอย่างยิ่ง และหลังจากได้สอบถามถึงที่มาของแสงนี้ ท่านก็ได้รับมอบรูปเคารพศักดิ์สิทธิ์”
จักรพรรดิโคนินได้ทรงสร้างวัดแห่งนี้ขึ้นในปี ค.ศ. 771 และทรงพระราชทานนามว่าเซ็นจูอิน จากนั้นจักรพรรดิอิจิโจได้ทรงสถาปนาให้เป็นวัดของจักรพรรดิในปี ค.ศ. 988 จักรพรรดิคันมุทรงพระราชทานนามวัดนี้ว่าเอ็นโจจิในปี ค.ศ. 795 นับแต่นั้นมา วัดเอ็นโจจิก็เจริญรุ่งเรืองในฐานะที่เป็นศูนย์กลางแห่งความศรัทธาของศาสนาพุทธในเขตทังโงะ ในวัดประกอบด้วยห้องโถง 7 ห้องและอาคารอื่นๆ อีก 25 อาคาร ตั้งอยู่เรียงรายยาวกว่า 300 เมตร (980 ฟุต) จากประตูทางเข้าด้านนอกไปจนถึงห้องโถงหลัก โดยมีควันและกลิ่นหอมของธูปหอมฟุ้งกระจายไปทั่วหุบเขาอยู่ตลอด
วัดรอดพ้นจากเหตุไฟไหม้ครั้งใหญ่ถึง 3 ครั้งและได้รับการบูรณะใหม่ทุกครั้ง นอกจากนี้ วัดแห่งนี้ยังเป็นที่ตั้งของรูปปั้นแกะสลักไม้คันนอน (เจ้าแม่กวนอิม) พันมือและเจดีย์หินจำนวนมากซึ่งได้กำหนดให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญของญี่ปุ่น รวมถึงมรดกทางวัฒนธรรมที่ได้กำหนดและขึ้นทะเบียนโดยจังหวัดเกียวโตและมรดกทางวัฒนธรรมที่ได้กำหนดโดยเมืองเคียวทังโกะ
วัดมีการจัดแสดงสมบัติเหล่านี้บางส่วนให้ประชาชนได้ชมในวันที่ 18 ตุลาคม
นอกจากนั้น กว่าหนึ่งพันปีจนถึงการฟื้นฟูเมจิในปี ค.ศ. 1868พระสงฆ์ของวัดเอ็นโจจิยังได้ทำหน้าที่เป็นผู้นำพระสงฆ์ของศาลเจ้าในท้องถิ่นที่ชื่อว่าคาราทาจิโนะมิยะด้วย
ทั้งนี้ ชื่ออื่นๆ ที่ใช้เรียกวัดเอ็นโจจิ ได้แก่ ฮาชิกิซัง (“ภูเขาฮาชิกิ” โดย “ภูเขา” ใช้เป็นนัยที่หมายถึง “วัดพุทธ”) ฮาชิกิเดระ (วัดฮาชิกิ) และฮาชิกิโนะมิยะ (ศาลเจ้าฮาชิกิ) ซึ่งมีที่มาจากชื่อสถานที่ดั้งเดิมของชุมชนท้องถิ่น คือ ฮาชิกิ และกล่าวถึงความสำคัญของวัดในประวัติศาสตร์ท้องถิ่น
มรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญรูปปั้นแกะสลักไม้เซ็นจูคันนอน
คือรูปเคารพสำคัญของวัดเอ็นโจจิ โดยปกติแล้ว รูปปั้นนี้จะไม่เปิดให้สาธารณชนเยี่ยมชม แต่จะเปิดให้เข้าชมได้เฉพาะในวันพิเศษและในบางงานเท่านั้น
การแสดงออกบนใบหน้าของรูปสลักบ่งบอกถึงลักษณะของยุคเฮอันตอนต้น (ค.ศ. 794-1185) ส่วนการแกะสลักรอยพับของเสื้อผ้าและลำตัวที่เพรียวบางแสดงให้เห็นถึงลักษณะของยุคหลัง รูปปั้นนี้ทำขึ้นจากไม้ชิ้นเดียวปราศจากข้อต่อภายใน และสวมมงกุฎแบบสามกลีบที่ไม่มีส่วนบน (ตามหลักพระสูตร) ตาไม้มีการปล่อยทิ้งไว้ตามที่แกะสลักไว้ มีรอยสิ่วทั่วทั้งตัว และรูปร่างทั้งหมดก็บิดเบี้ยวผิดรูป พระหัตถ์สำหรับสวดมนต์และพระหัตถ์ที่ถือบาตรทำขึ้นจากวัสดุเดียวกันกับลำตัว แต่พระหัตถ์และฐานที่อยู่ด้านตรงข้ามส่วนใหญ่ทำจากวัสดุที่มีการเพิ่มเข้ามาภายหลังและเป็นวัสดุที่แตกต่างกัน รูปปั้นนี้สูง 152 ซม. (5 ฟุต)
มรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญเจดีย์โฮเกียวอินโต
เจดีย์โฮเกียวอินโตเป็นเจดีย์สูง 7 ชั้นที่บรรจุพระสูตรเรื่องจิตลับของพระตถาคตและธารณีทั้งกายและใจ ซึ่งอธิบายความลับของจิตของพระตถาคต (พระพุทธเจ้า) กล่าวกันว่าผู้ที่บูชาและถวายเครื่องบูชาที่เจดีย์แห่งนี้จะสามารถปิดประตูนรก ขจัดบาปได้ในทันที และบรรลุการรู้แจ้ง และยังเชื่อกันว่าผู้ที่บูชาและถวายเครื่องบูชาที่เจดีย์แห่งนี้จะแคล้วคลาดจากความยากลำบากทั้งหมดในโลกนี้และได้รับพรอย่างมากมายมหาศาล มีจารึกว่า “ปีที่ 6 สาวกของพุทธศาสนา ยูคุฮิเดะ” ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่พระภิกษุชาวอินเดีย เซ็นมุย
ลักษณะเฉพาะของยุคสมัยเห็นได้จากลายขัดแตะและกลีบบัวที่ฐานหิน เจดีย์ที่มีฐานซ้อนกันเป็นชั้นๆ ถือเป็นศิลปวัตถุอันทรงคุณค่าที่ได้รับการอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดี ความสูงรวมคือ 313.9 ซม. (10 ฟุตกว่า) และฐานแต่ละด้านมีความยาว 227.6 ซม. (ประมาณ 7.5 ฟุต)
-
หมายเลข 1 วัดคันนอนจิ
(เมืองฟุคุจิยามะ) -
หมายเลข 2 วัดเทนเนอิจิ
(เมืองฟุคุจิยามะ) -
หมายเลข 3 วัดอังโคะคุจิ
(เมืองอะยะเบะ) -
หมายเลข 4 วัดโคเมียวจิ
(เมืองอะยะเบะ) -
หมายเลข 5 วัดโชเรคิจิ
(เมืองอะยะเบะ) -
หมายเลข 6 วัดมัตสึโนะโอเดระ
(เมืองไมซูรุ) -
หมายเลข 7 วัดคงโกอิน
(เมืองไมซูรุ) -
หมายเลข 8 วัดทาเนจิ
(เมืองไมซูรุ) -
หมายเลข 9 วัดชิออนจิ
(อามาโนะฮาชิดาเตะ) -
หมายเลข 10 วัดเอ็นโจจิ
(เมืองเคียวทังโกะ)